Chepter 9
E-Government
ความหมาย
e-government
ve-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4
ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
e-government
คือ
วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ
และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน
e-government
กับ
e-services
มีความเกี่ยวพันกันมาก
กล่าวได้ว่า e-government
เป็นพื้นฐาน
ของ e-services
เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น
มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย
และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้
การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ
รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service
กลยุทธ์ ตามนโยบาย IT2010
หลัก e-Government
จะเป็นแบบ G2G
G2B และ G2C
ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเ้งินค่าบริการ
ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง
โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ
เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์
เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online
และ
Real
Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน
โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง
มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น
การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
3. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ
ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม
จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ
(Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน
นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่ววยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
(Government Data Exchan)
ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ
และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back
Office ต่าง ๆ ได้แก่
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี
จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม
4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ
(Employee)
กับรัฐบาล
โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย
และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น
ระบบ E-Tending
ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้าและบริการ ที่มีคุณค่าสูงกระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศับวิธีการประกวดราคาระเบียบสำนักนายยกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
ระบบ E-Purchasing
ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบน่อย
1. ระบบ E-shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก เช่นการจัดซื้อวัสดุสำนักงานในปริมาณไม่มากสามารถทำผ่านระบบ E-catalog ได้
2.ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานท่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก