Chepter 5 e-marketing
E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์
โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด
การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
คุณลักษณะเฉพาะของ e-Marketing
- เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง
(Niche Market)
- เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ
2 ทาง (2 Way
Communication)
- เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว
(One to One Marketing หรือ Personalize
Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
- มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค
(Dispersion of Consumer)
- เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก
ตลอด24ชั่วโมง (24 Business
Hours)
- สามารถติดต่อสื่อสาร
โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick
Response)
- มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล
สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and
Efficiency)
- มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม
(Relate to Traditional Marketing)
- มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ
(Purchase by Information)
e-Marketing
E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด
และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design), การพัฒนา (Development), การโฆษณาและการขาย
(Advertising and Sales) เป็นต้น
(ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine
Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า
เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า
การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้
รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer
Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
ในขณะที่
การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional
Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก
E-Marketing อย่างชัดเจน
โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing
Segmentation) โดยใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์
หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น
E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก
รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย
เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ความแตกต่างกันระหว่าง
e-Marketing, e-Business และ
e-Commerce
E-Marketingคือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business
หรือ Electronic
Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า
E-Commerce หรือ Electronic
Commerce มากกว่า
เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า
โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย
การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน
และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ
โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ
(Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน
(Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
(Computerized Process)แทน
รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ
ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
- การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร
(Intranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร
(Extranet)
- การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก
(Internet)
ประโยชน์ของ
e-Marketing
นอกจากนี้ Smith and
Chaffey ยังได้กล่าวถึง
5Ss’ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ได้แก่
-การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์
ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจำ (Acquisition
and Retention tools) ในสินค้าบริการเราเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
-การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า
จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น)
-การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น
โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม
ตลอดจนสามารถสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า
ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ
-ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ
โดยสามารถใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม
-การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์
ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก
มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น
เครื่องมือที่สำคัญของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
-Digital advertising
-Raid Marketing
-e-mail Marketing
-Video Marketing
-Blogging
-Mobile marketing
-Pay Per Click
-Search Engine
Optimization
-Social Media
Marketing
ส่วนผสมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- ราคา (Price)
- สถานที่ (Place)
- การส่งเสริมการขาย (Promotion)
- เครือข่ายสังคม (Social Network)
- การขายบนเว็บไซต์
- การบริการลูกค้า
- ระบบป้องกันความปลอดภัย
- ระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการบริการ (Personalization Service)
7
ขั้นตอนสำหรับการทำ e-Marketing
**ขั้น 1
กำหนดวัตถุประสงค์ (Set Objective)
การจัดทำเว็บไซต์ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ
**ขั้น
2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธี 5W+1H
**ขั้น
3 วางแผนงบประมาณ มีเงินเท่าไร จะใช้เท่าไร
**ขั้น
4 กำหนดแนวความคิดและรูปแบบ หาจุดขาย ลูกเล่น
**ขั้น
5 การวางแผนกลยุทธ์ และสื่อ ช่วงเวลา
**ขั้น
6 การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้
**ขั้น
7 วัดผลและประเมินผลลัพธ์
6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ
1.C
ontent (ข้อมูล)
2.C
ommunity (ชุมชน,สังคม)
3.C
ommerce (การค้าขาย)
4.C
ustomization (การปรับให้เหมาะสม)
5.C
ommunication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)
6.C
onvenience (ความสะดวกสบาย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น